04 ธันวาคม, 2551

อาหารวันขึ้นปีใหม่ お 正月料理

    

เนื่องจากใกล้เทศกาลวันขึ้นปีใหม่ ก็เลยอยากนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับปีใหม่ญี่ปุ่น นั่นคือ เรื่องอาหารวันขึ้นปีใหม่ お 正月 ( しょうがつ ) 料理 ( りょうり ) (Oshougatsu ryouri) นั่นเอง

お 正月 :しょうがつ           oshougatsu         วันขึ้นปีใหม่

料理 : りょうり                 ryouri                  อาหาร

ในวันขึ้นปีใหม่ของญี่ปุ่นนั้น บ้านคนญี่ปุ่นโดยทั่วไปมักจะมีอาหารพิเศษ ที่มักจะทานกันเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ เรียกว่า おせち料理 ( Osechi ryouri ) ซึ่งเป็นอาหารที่จะเริ่มทานกันในครอบครัวตั้งแต่เช้าวันที่ 1 มกราคม ถึงประมาณวันที่ 3 มกราคม 

นอกจากนั้นอาหารปีใหม่นี้ นับว่าเป็นอาหารเทศกาลที่มีราคาค่างวดค่อนข้างจะแพงทีเดียว โดยเฉพาะร้านอาหารที่มีชื่อเสียง บางร้าน สนนราคาประมาณ 3-5 หมื่นเยน บางร้านหรือบางชุดราคาเป็นแสนเยนเลยทีเดียว ทำไมเจ้าอาหารปีใหม่นี้ทำไมถึง เป็นที่นิยมสำหรับครอบครัวคนญี่ปุ่นนัก มีอะไรเป็นส่วนประกอบกันบ้าง และทำไมถึงมีราคาแพงนัก ลองมาดูกันเลยนะคะ

Osechi นั้นในสมัยก่อนเรียกว่า お節供 (Osechiku) ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายถึงสิ่งของที่ถวายเทพเจ้าในช่วงเทศกาล หรือ 節句 (sekku) ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 เทศกาล คือ วันที่ 1 เดือน 1/ วันที่ 3 เดือน 3 / วันที่ 5 เดือน 5 / วันที่ 7 เดือน 7 และวันที่ 9 เดือน 9 ซึ่งต่อมาการทำอาหารถวายเทพเจ้าได้แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป และได้ประชาชนได้ทำทานเอง ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ทำให้มีการดัดแปลงการเรียกชื่อเป็น おせち( Osechi )

การทานอาหารปีใหม่นี้ ถือว่าเป็นการขอพรเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงและนำมาซึ่งความสุขในช่วงหนึ่งปีจากนี้ไป การ เรียกชื่ออาหารปีใหม่ว่า Osechi ryouri นี้ สันนิษฐานว่าเพิ่งเริ่มใช้ในช่วงปลายสมัยเอโดะหรือประมาณ 200 กว่าปีมานี้เอง นับได้ว่าเป็นวัฒนธรรมการกินที่เกิดขึ้นมาใหม่ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมการกินดั้งเดิมของญี่ปุ่น

อาหารปีใหม่มักจะกล่าวกันโดยทั่วไปว่า เป็นอาหารที่ไม่ค่อยมีรสชาติ มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบเพียงนิดหน่อย แถมยังมี จำนวนไม่มากอีกต่างหาก แต่หากมองในมุมกลับกัน อาหารปีใหม่ของญี่ปุ่นนั้นส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ทำจากผักเสียเป็น ส่วนใหญ่ ดีต่อสุขภาพ แต่รูปร่างหน้าตาของอาหารปีใหม่ในแต่ละครัวเรือนก็มีหน้าตาที่แตกต่างกันออกไป

โดยตามธรรมเนียมเดิมแล้ว อาหารปีใหม่จะประกอบด้วยอาหาร 5 ชั้นด้วยกัน (เพราะส่วนใหญ่มักใช้ทานสำหรับ 3 วัน แต่ในปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยเคร่งครัดเรื่องจำนวนชั้นของอาหารเท่าใดนัก ส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับวัตถุดิบหลักที่นำมาใช้ ประกอบอาหารมากกว่า)

ส่วนประกอบหลักของอาหารปีใหม่ที่มีรูปร่างหน้าตาและเป็นที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบันนี้ เริ่มมาตั้งแต่ช่วงปลายสมัยเอโดะ ซึ่งมักจะนำวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารที่มีชื่อ หรือความหมายที่เป็นมงคล โดยทั่วไปมักประกอบด้วย

                 

錦たまご            nishiki tamago          เป็นอาหารสองสีที่ทำจากไข่ (เพราะไข่ขาวและไข่แดง)  เป็นคำ พ้องเสียงกับ nishiki

金平ごぼう         kinpira gobou kobou  เป็นผักประเภทหนึ่งที่มีความทนทาน และความแข็งมากชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความหมายว่า ทานผักชนิดนี้แล้วจะทำให้ร่างกายแข็งแรง

里芋 : さといも    sato imo                  เผือก เนื่องจากเผือกมีหัวเล็กๆอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เปรียบเทียบกับการมีทรัพย์สมบัติ 

紅白なます         kouhaku namasu      ของหมักดองสีขาวแดง

紅白かまぼこ      kouhaku kamaboko   เนื้อปลาบดแล้วนึ่งเป็นก้อน มีสีขาวและแดงซึ่งเป็นสีมงคลใน การเฉลิมฉลอง ซึ่งเป็นพื้นฐานของอาหารปีใหม่

栗きんとん : くりきんとん    kuri kinton   ของหวานทำจากเนื้อลูกเกาลัด

伊達巻き:だてまき              date maki    อาหารที่นำไข่มาม้วน ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า 伊達 (date) ที่แปลว่า ความมั่งคั่ง

         

                紅白なます                                          栗きんとん

黒豆 : くろまめ    kuromame   ถั่วดำเม็ดใหญ่ ซึ่งมีเสียงพ้องกับคำว่า อยู่อย่างสงบ

数の子                 suu no ko    ไข่ปลา かど หมายความถึงการมีลูกหลานมากมาย เหมือนไข่ปลา

昆布 : こんぶ        konbu         สาหร่ายทะเลใบแข็ง มีเสียงพ้องกับ よろこぶ ที่หมายถึง ความยินดีปรีดา

田作り : たづくり    ta dukuri     มีความหมายถึงการสร้างปีแห่งความอุดมสมบูรณ์

かちぐり                kachiguri    เกาลัดตากแห้ง มีเสียงพ้องกับคำว่า 勝 (katsu) ชัยชนะ

鯛 : たい               tai             ปลาไท มีเสียงพ้องกับ めでたい ที่แปลว่า เฉลิมฉลอง

: だいだい         daidai        ผลไม้ประเภทส้ม มีเสียงพ้องกับคำว่า代々(daidai) หมายความถึง รุ่นต่อรุ่น ตีความหมายได้ว่า มีลูกหลานสืบสกุล ต่อไปหลายๆ รุ่น

                         

                                 อาหารปีใหม่แบบชั้นเดียว

                         

                                   อาหารปีใหม่แบบ 2 ชั้น

                         

                                   อาหารปีใหม่แบบ 3 ชั้น

                         

                                 อาหารปีใหม่แบบประยุกต์

meaw

                                                                                มะเหมี่ยวจัง C("O")D

ร้าน 100 円 (เยน)

100 Yen Shop สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของญี่ปุ่น
ถ้าใครเคยไปญี่ปุ่น รับรองได้ว่าต้องคุ้นตาหรือเคยเข้าไปอุดหนุนที่ร้านร้อย   เยน (100 yen shop) ที่นี่มีทุกอย่างที่คุณอยากได้ (จริงๆค่ะ) ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบจริงๆ และที่สำคัญนอกจากราคาจะถูกจนตาโตแล้ว คุณภาพถือว่าเหนือกว่าราคาอีกด้วย ด้วยคอนเซ็ปท์ที่ว่าของทุกชิ้นในร้านขายราคาเดียวกัน คือ 100 เยน คิดเป็นเงินไทยก็ 30 กว่าบาทเองค่ะ

100 yen

มาดูความเป็นมาของร้านร้อยเยนกันดีกว่าค่ะ เพื่อนๆคงจะคุ้นชื่อ “ไดโซ” กันใช่มั๊ยคะ นั่นละค่ะเป็นผู้ริเริ่มธุรกิจประเภทนี้ และก็มีสาขามาเปิดที่เมืองไทยแล้วเหมือนกัน อยู่เซ็นทรัล สาขาปิ่นเกล้าจ้า..แวะเวียนไปดูบรรยากาศกันได้เลยจ้า ตอนนี้ไดโซก็มีสาขากว่า 2,000 แห่งทั่วโลกแล้วค่ะ ภายใต้ชื่อว่า "The 100 Yen Shop Daiso." ในปี 1995 บริษัทมียอดขาย 23.3 พันล้านเยน และพุ่งขึ้นเป็น 200 พันล้านเยน ในปี 2000 ภายในช่วงเวลาแค่ 6 ปี บริษัทก็มีการเติบโตถล่มทลายกว่า 850% และทุกเดือนทางบริษัทก็ยังเดินหน้าขยายสาขาไปอย่างไม่หยุดยั้งค่ะ

มาดูประวัติและรายละเอียดเกี่ยวกับ “ไดโซ” กันดีกว่าค่ะ

100 Yen Shop ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2520 โดย นายฮิโรตาเก ยาโน ประธานบริษัท ไดโซ อินดัสเตรียล จำกัด ที่สามารถพัฒนาธุรกิจร้านค้าปลีก
ราคาเดียว จนเติบโต
ยอดขายทั่วโลกในสิ้นปี 2548 ประมาณ 120,000 ล้านบาท(อ่านว่า หนึ่งแสนสองหมื่นล้านบาท) มีสาขารวมทั้งสิ้น 3,100 สาขา แยกเป็นอยู่ในญี่ปุ่น 2,700 สาขา และเป็นสาขาในต่างประเทศรวม 16 ประเทศ จำนวน 400 สาขา
สาขาในต่างประเทศ เฉพาะเอเชีย ตอนนี้มี 6 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลี สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง และประเทศไทย
ซึ่งตอนนี้มีอยู่ 7 สาขา ภายใต้ชื่อ ร้านไดโซ ตัวอย่างเช่น
ร้านไดโซ สยามสแควร์
ร้านไดโซ เซ็นทรัลพระราม2
ร้านไดโซ เซ็นทรัลปิ่นเกล้า
และร้านไดโซ เซ็นทรัลบางนา เป็นต้น
ร้านไดโซ จะอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ไดโซ ซังเกียว (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ ด้วยทุนจดทะเบียน 160 ล้านบาท
มีผู้ถือหุ้นทั้งหมด 7 ราย ประกอบด้วย ไดโดมอน กรุ๊ป(ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารไดโดมอน) ถือหุ้น 35% ไดโซ ซังเกียว ประเทศญี่ปุ่น 30% เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น 20% บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง 2% บริษัท สหพัฒนพิบูล 2% บริษัท ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล 3.5% และ บริษัท อีโตชู แมนเนจเมนท์ ไทยแลนด์ 7.5%

 

                                 aor

                                                                                   PR อ้อ  レイコ